หน้าหลัก >> กิจกรรมโครงการ >> กิจกรรมการชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

1) กิจกรรมการชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน


การชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และกำหนดแนวทางและกระบวนการสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ในช่วงเดือนเมษายน 2566 โดยใช้วิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน


พบว่า คณะผู้วิจัยนำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกันจัดประชุมเพื่อชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และการสร้างกลไกประชาคมทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมละไม ชั้น 2 อาคารวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวอำเภอเกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีนายชยพล อินทรสุภา นายอำเภอเกาะสมุย เป็นประธาน พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักของงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม ได้แก่ ประธานชุมชนอ่างทอง ประธานชุมชนแหลมสอ และประธานชุมชนมะเร็ต ตัวแทนกลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการบ้านโบราณ ณ สมุย วิสาหกิจชุมชนสมุยยั่งยืน สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย (3) ภาครัฐ ได้แก่ ผู้บริหารและผู้แทนของสำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (4) ภาควิชาการ ได้แก่ คณะครูและตัวแทนนักเรียนจากสถาบันการศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย คณะนักวิจัยและตัวแทนนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินกิจกรรมยังพบว่า ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และเป้าหมายของงานวิจัย ภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยครั้งนี้ในการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สอดรับแนวคิดของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities : GNLC) และการสร้างนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมืองสำหรับคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย เช่น “พื้นที่การเรียนรู้” เช่น ถนนแห่งการเรียนรู้ (Learning Street) หรือตลาดสินค้าท้องถิ่น (Local Learning Market) หรือพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) หรือห้องสมุดมีชีวิต (Living Library) เป็นต้น (โดยเลือกมา 1 ประเภท)

นอกจากนี้ ยังพบว่า เกิดการจัดตั้งเป็น “คณะทำงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้” จำนวน 1 กลุ่ม ซึ่งมีต้นทุนเดิมในการพัฒนาโครงการวิจัยและงานบริการวิชาการมาก่อนหน้านี้ ผ่านกระบวนการจัดเวที Focus Groups ประกอบด้วย เจ้าของอาคาร เทศบาลนครเกาะสมุย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สมุย) อำเภอเกาะสมุย การท่องเที่ยวและกีฬา (สมุย) สมาคมส่งเสริมการทองเที่ยวเกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยในที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนด “พื้นที่ต้นแบบ” (นำร่อง) ในการพัฒนา คือ “อาคารพาณิชย์โบราณ” ในย่านเมืองเก่าชุมชนอ่างทอง เป็นถนนแห่งการเรียนรู้ (Learning Street) และ “บ้านโบราณ ณ สมุย” ในชุมชนแหลมสอ และ “เรือนรับรองพระอาคันตุกะ” ของวัดสำเร็จ ในชุมชนมะเร็ต เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) โดยผ่านกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

Norway