Norway

กิจกรรมโครงการ

Norway

กิจกรรมโครงการ



1) กิจกรรมการชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

การชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และกำหนดแนวทางและกระบวนการสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ในช่วงเดือนเมษายน 2566 โดยใช้วิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน

ดูรายละเอียดกิจกรรม
Norway

Norway

2) กิจกรรมการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ และคืนข้อมูลของเทศบาลนครเกาะสมุยแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุยพร้อมด้วยกลุ่มเป้าหมาย ลงพื้นที่ศึกษาบริเวณชุมชนอ่างทอง (สองฝั่งถนนอ่างทอง) ตำบลอ่างทอง และชุมชนแหลมสอ ตำบลหน้าเมือง เพื่อสำรวจภาคสนาม การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มย่อย กับกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน ได้แก่ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 ตามวิธีการของเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผ่านวิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล และเป็นการคืนข้อมูล-ตรวจสอบความถูกต้องและการออกแบบระบบฐานข้อมูลบนฐานทุนทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

ดูรายละเอียดกิจกรรม


3) กิจกรรมการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ในเมือง” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2566 ภายใต้หลักการ “กรอบคุณลักษณะที่สำคัญของเมืองแห่งการเรียนรู้” (Key Features of Learning Cities) ของยูเนสโก (UNESCO) เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสถานที่ในพื้นที่ศึกษาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สำหรับคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ได้แก่ “พื้นที่การเรียนรู้” เช่น ถนนแห่งการเรียนรู้ (Learning Street) หรือตลาดสินค้าท้องถิ่น (Local Learning Market) หรือพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) หรือห้องสมุดมีชีวิต (Living Library) เป็นต้น จำนวนอย่างน้อย 1 พื้นที่

ดูรายละเอียดกิจกรรม
Norway

Norway

4) กิจกรรมการสร้างคุณค่าและโอกาส ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการภายใต้แบรนด์ของเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนากำลังคนเป็น “นักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” City Learning Administrator) (หรือนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น) การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านศิลปะพื้นบ้าน ด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง (กลุ่มที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีปัญหาในการเข้าถึงบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ คนพิการ ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และพระสงฆ์ เป็นต้น) กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน/การบริการ และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือการบริการของโครงการวิจัย

ดูรายละเอียดกิจกรรม


5) กิจกรรมการสรุปและถอดบทเรียนกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำแผนแม่บท-การยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ในเดือนมีนาคม 2567 มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นขั้นตอนของการสร้างนโยบาย หรือแผนแม่บท (Master Plan) และแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ฯ และยังจัดประชุมเพื่อสรุปองค์ความรู้และการถอดบทเรียนที่ได้จากผลการวิจัย และการประชาสัมพันธ์การสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พร้อมทั้งทำการสำรวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทดังกล่าวจากกลุ่มเป้าหมายรอง จำนวน 400 คน เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงแผนแม่บท ให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ดูรายละเอียดกิจกรรม
Norway


6) ผลจากการดำเนินโครงการวิจัยครั้งนี้

ผลจากการดำเนินโครงการวิจัยครั้งนี้ ได้เกิดควารมร่วมมือในการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากมาย โดยเฉพาะภาคประชาสังคมและภาคเอกชนได้เกิดการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุยขึ้นมา เพื่อเป็นการเปปิดพื้นที่ความร่วมมือในการพัฒนาต่อไป

Norway