หน้าหลัก >> กิจกรรมโครงการ >> กิจกรรมการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

3) กิจกรรมการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน


คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ในเมือง” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2566 ภายใต้หลักการ “กรอบคุณลักษณะที่สำคัญของเมืองแห่งการเรียนรู้” (Key Features of Learning Cities) ของยูเนสโก (UNESCO) เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสถานที่ในพื้นที่ศึกษาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สำหรับคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ได้แก่ “พื้นที่การเรียนรู้” เช่น ถนนแห่งการเรียนรู้ (Learning Street) หรือตลาดสินค้าท้องถิ่น (Local Learning Market) หรือพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) หรือห้องสมุดมีชีวิต (Living Library) เป็นต้น จำนวนอย่างน้อย 1 พื้นที่


พบว่า คณะทำงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้เกาะสมุย ได้นำข้อมูลจากกิจกรรมที่ 2 มาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ สร้างทักษะ และพัฒนากำลังคนในด้านการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2566 ได้แก่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ในเมือง” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ ประธานชุมชนอ่างทอง ประธานชุมชนแหลมสอ และประธานชุมชนมะเร็ต ตัวแทนกลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 ได้แก่ ผู้ประกอบการบ้านโบราณ ณ สมุย วิสาหกิจชุมชนสมุยยั่งยืน สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 ได้แก่ ผู้บริหารและผู้แทนของสำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน ได้แก่ ตัวแทนคณะครูและตัวแทนนักเรียนจากสถาบันการศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย คณะนักวิจัยและตัวแทนนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ตัวแทนจากภาคประชาสังคมและภาคเอกชนนั้น มาจากกลุ่มคนทุกช่วงวัยและกลุ่มเจ้าของอาคารพาณิชย์โบราณบนถนนอ่างทอง (ถนนสายกลาง) รวมทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านโบราณ ณ สมุย และกลุ่มไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดที่ดูแลเรือนรับรองพระอาคันตุกะ ณ วัดสำเร็จ มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนากำลังคนเป็น “นักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” City Learning Administrator) (หรือนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น)

โดยบทสรุปจากการจัดอบรมฯ พบว่า เกิดการพัฒนากำลังคนเป็น “นักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” City Learning Administrator (หรือนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น) อย่างน้อย 30 คน (เฉพาะพื้นที่นี้) ผ่านกระบวนการจัดเวที Focus Groups และกลไกความร่วมมือระดับเมืองเชิงพื้นที่ด้วยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเริ่มจากการจัดเวที Focus Groups เพื่อดำเนินการสำรวจและกำหนดเป้าหมายในการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ภายใต้หลักการ “กรอบคุณลักษณะที่สำคัญของเมืองแห่งการเรียนรู้” (Key Features of Learning Cities) ของยูเนสโก (UNESCO) ได้แก่ (1) ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา (2) ส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน (3) ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน (4) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (5) ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้ และ (6) สนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง ผ่านกระบวนการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (GNLC) ประกอบด้วย (1) ประชาชนทุกกลุ่มที่เข้าร่วมการประชุมมีอำนาจในการกำหนดแนวทางการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ (2) สามารถกำหนดความต้องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย (3) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการแสดงความคิดเห็นและร่วมกันกำหนด Brand ของย่านเมืองเก่าเทศบาลนครเกาะสมุยชื่อว่า “กิน อยู่ คือ หมุย” (Eating and Living are Mui) เพื่อนำสู่การ Rebranding City ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้และการยอมรับ (Recognition) ในระดับพื้นที่ของเกาะสมุย รวมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้แก่ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม 5F ประกอบด้วย อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณีไทย (Festival) มายกระดับให้เป็นกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 3 พื้นที่ ซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของทั้ง 3 ชุมชน โดยการขับเคลื่อนด้วยต้นทุนหรือเสน่ห์ความเป็นสมุยในแต่ละพื้นที่ หรือ “Soft Power” ในการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ด้วยการออกแบบและกำหนดขอบเขตด้านพื้นที่ ขอบเขตด้านเนื้อหาการเรียนรู้และการนำเสนอ ขอบเขตด้านกิจกรรมและผู้รับผิดชอบรวมทั้งงบประมาณ และการเตรียมสถานที่บริเวณ ได้แก่ (1) ชุมชนอ่างทอง คือ “พื้นที่วางและอาคารพาณิชย์โบราณ” ในย่านเมืองเก่าชุมชนอ่างทอง (สองฝั่งถนนสายกลาง-อ่างทอง) ตำบลอ่างทอง เป็นพื้นที่ต้นแบบ “ถนนแห่งการเรียนรู้” (Learning Street) จำนวน 1 พื้นที่ (รูปที่ 4.5) (2) ชุมชนแหลมสอ “บ้านโบราณ ณ สมุย” เป็นพื้นที่ต้นแบบ “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” (Living Museum) จำนวน 1 พื้นที่ และ (3) ชุมชนมะเร็ต คือ “เรือนรับรองพระอาคันตุกะ” วัดสำเร็จ เป็นพื้นที่ต้นแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” (Living Library) จำนวน 1 พื้นที่

Norway Norway

นอกจากนี้ คณะทำงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้เกาะสมุย ได้นำตัวแทนของนักจัดการการเรียนรู้ในเมือง พร้อมข้อมูลการสร้างนิเวศการเรียนรู้และพื้นที่การเรียนรู้ของเทศบาลนครเกาะสมุย เข้าพบหารือกับ วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุราษฎร์ธานี และสำนักงานเกาะสมุย (รูปที่ 4.6) ในประเด็นการขับเคลื่อน Brand ของเมือง คือ “กิน อยู่ คือ หมุย” (Eating and Living are Mui) ผ่านแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม 5F ตามความหมายในข้างต้น โดยบทสรุปในที่ประชุม คือ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมหรือแคมเปญส่งเสริมการรับรู้ของสาธารณะชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในด้านที่ตั้งและบริบทของแต่ละพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 3 พื้นที่ (ชุมชนอ่างทอง ชุมชนแหลมสอ และชุมชนมะเร็ต) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานทุนทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์อันดีงามของชาวสมุย ผ่านแนวคิดในการส่งเสริมการรับรู้ “ยลถิ่นแลหมุย” ได้แก่

Norway Norway

1) กิจกรรมตลาดนัดสินค้าแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตรในท้องถิ่น วันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567 ณ บ้านโบราณ ชุมชนบ้านเลสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารการกินของชาวสมุย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ (1) ภาคประชาสังคม เช่น เยาวชน นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนทุกช่วงวัย ผู้สูงอายุในเกาะสมุย นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน (2) ภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนในเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย (3) ภาครัฐ เช่น สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเกาะสมุย และ (4) ภาควิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

2) กิจกรรมการสร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมบนเกาะสมุย (Koh Samui Learning Space for Soft Power) วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ลานด้านหน้าสุราษฎร์ธานีฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง และพื้นที่การเรียนรู้ของเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้ง 3 พื้นที่ ด้วยการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสร้างคุณค่าและโอกาส ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการภายใต้แบรนด์ของเมือง สู่เศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในเทศบาลนครเกาะสมุยอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ (1) ภาคประชาสังคม เช่น เยาวชน นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนทุกช่วงวัย นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน (2) ภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนในเกาะสมุยและสุราษฎร์ธานี สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวสุราษฎร์ธานี หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และศูนย์การค้าเซ็นทรัลสุราษฎร์ธานี (3) ภาครัฐ เช่น สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุราษฎร์ธานี และสำนักงานเกาะสมุย และ (4) ภาควิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และวิทยาลัยชุมชนระนอง

3) งานเทศกาล RIM LIGHT “ย้อน แสง ทอน” วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 ณ ลานกิจกรรมด้านหลังร้าน Little Green Cafe ถนนหน้าทอนและถนนสายกลาง กิจกรรมนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนอ่างทองและหน้าทอน ในมุมมองใหม่ผ่านงาน Art & Craft การแสดงสินค้าและอาหารท้องถิ่นสมุย การจัดกิจกรรม Workshop ที่น่าสนใจ เช่น การถ่ายภาพ งานทำมือ การสาธิตปรุงอาหารและขนมท้องถิ่น และดนตรี เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การอนุรักษ์ฟื้นฟูเมืองท่าสำคัญในอดีตที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนในมุมมองใหม่ ผ่านงาน Art & Craft การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยื่น (Eco Friendly) การสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนด้านการค้าอาหารทะเลของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ (1) ภาคประชาสังคม เช่น เยาวชน นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนทุกช่วงวัย ผู้สูงอายุในเกาะสมุย นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน (2) ภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนในเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (3) ภาครัฐ เช่น สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเกาะสมุย และ (4) ภาควิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี


Norway
Norway
Norway
Norway