4) กิจกรรมการสร้างคุณค่าและโอกาส ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการภายใต้แบรนด์ของเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนากำลังคนเป็น “นักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” City Learning Administrator) (หรือนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น) การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านศิลปะพื้นบ้าน ด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง (กลุ่มที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีปัญหาในการเข้าถึงบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ คนพิการ ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และพระสงฆ์ เป็นต้น) กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน/การบริการ และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือการบริการของโครงการวิจัย
คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย รวมทั้งภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ 4 เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณค่าและโอกาส ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการภายใต้แบรนด์ของเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 และเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านศิลปะพื้นบ้าน ด้านที่เกี่ยวข้อง” ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง (กลุ่มที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีปัญหาในการเข้าถึงบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ คนพิการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นต้น) กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน/การบริการ และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือการบริการของโครงการวิจัย ซึ่งจะได้ผลผลิตที่จะส่งมอบ คือ “นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน” (ผ่านงานด้านศิลปพื้นบ้าน หรือด้านที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 30 คน ที่จะพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน/การบริการ อย่างน้อยชุมชนละ 1 ผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งได้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือการบริการของโครงการวิจัย อย่างน้อย 1 ระบบ
ทั้งนี้ คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย รวมทั้งภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเกาะสมุย” และเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานศิลปะและวัฒนธรรมเกาะสมุย” (กางเกงสมุย) โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย นักเรียน นักศึกษา และโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในเกาะสมุย