หน้าหลัก >> กิจกรรมโครงการ >> กิจกรรมการชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

5) กิจกรรมการสรุปและถอดบทเรียนกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำแผนแม่บท-การยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย (2) ภาคเอกชน จำนวน 20 คน คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรเอกชน หรือสมาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการ (เช่น ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ร้านค้า ที่พัก หรือสถานบริการต่าง ๆ ขนส่งมวลชน ขนส่งพัสดุ อาหาร และสินค้า เป็นต้น) รวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย (3) ภาครัฐ จำนวน 20 คน ได้แก่ สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน คือ นักวิจัย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย ในเดือนมีนาคม 2567 มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นขั้นตอนของการสร้างนโยบาย หรือแผนแม่บท (Master Plan) และแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ฯ และยังจัดประชุมเพื่อสรุปองค์ความรู้และการถอดบทเรียนที่ได้จากผลการวิจัย และการประชาสัมพันธ์การสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พร้อมทั้งทำการสำรวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทดังกล่าวจากกลุ่มเป้าหมายรอง จำนวน 400 คน เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงแผนแม่บท ให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


คณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย รวมทั้งภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำกิจกรรมที่ 4 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2567 เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำแผนแม่บท-การยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน ประกอบด้วย

(1) ภาคประชาสังคม จำนวน 30 คน ได้แก่ ประธานชุมชนอ่างทอง ประธานชุมชนแหลมสอ และประธานชุมชนมะเร็ต ตัวแทนกลุ่มคนทุกช่วงวัย กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย

(2) ภาคเอกชน จำนวน 20 ได้แก่ ผู้ประกอบการบ้านโบราณ ณ สมุย วิสาหกิจชุมชนสมุยยั่งยืน สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย

(3) ภาครัฐ จำนวน 20 ได้แก่ ผู้บริหารและผู้แทนของสำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอเกาะสมุย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย รวมทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(4) ภาควิชาการ จำนวน 10 คน ได้แก่ ตัวแทนคณะครูและตัวแทนนักเรียนจากสถาบันการศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย คณะนักวิจัยและตัวแทนนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว และได้กำหนดให้จัดในพื้นที่ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการสร้างนโยบาย หรือแผนแม่บท (Master Plan) และแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ฯ และยังจัดประชุมเพื่อสรุปองค์ความรู้และการถอดบทเรียนที่ได้จากผลการวิจัย และการประชาสัมพันธ์การสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พร้อมทั้งจัดทำการสำรวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทดังกล่าวจากกลุ่มเป้าหมายรอง จำนวน 400 คน (ตารางที่ X และรูปที่ 4.18) เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงและจัดทำแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ ในภาคประชาสังคมและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย เพื่อเพิ่มช่องทางความร่วมมือภายในภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้อีกด้วย

Norway

ทั้งนี้ จากการสรุปและถอดบทเรียน พบว่าคณะนักวิจัยร่วมกับเทศบาลนครเกาะสมุย รวมทั้งภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้กำหนดให้จัดพื้นที่เรียนรู้ ณ เรือนรับรองพระอาคันตุกะ วัดสำเร็จ ในชุมชนมะเร็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” (Living Library) ของโครงการครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด “Local to Global” ด้วยการออกแบบและผสมผสานเทคนิคการตกแต่งห้องสมุดด้วยวัสดุและอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนในท้องถิ่นเกาะสมุย รวมทั้งเครื่องใช้และวัตถุโบราณที่ได้รับการบริจาคมาจากวัดสำเร็จและชุมชนใกล้เคียง ที่มีคุณค่าทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโบราณ เช่น อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรในประเทศจีนและอินเดีย เป็นต้น โดยจะรับความร่วมมือจากคณะนักวิจัยและนักศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องในวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่ผ่านการอบรมเรื่องการสร้างนักจัดการการเรียนรู้ในเมืองมาดำเนินการสืบค้นและจัดทำฐานข้อมูล ป้ายสื่อความหมาย ระบบสื่อความหมายด้วย QR Code ภายใต้ห้องสมุดมีชีวิต รวมทั้งเป็นนักสื่อความหมายประจำห้องสมุดมีชีวิต ตลอดจนพื้นที่ “ถนนแห่งการเรียนรู้” (Learning Street) ในชุมชนอ่างทอง และ “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” (Living Museum) ในชุมชนแหลมสอ อีกด้วย